6 เหตุผลที่ทำให้ 'บางโพ' กลายเป็น HUB ใหม่ในอนาคต
11 May 2560
ย้อนวันวาน บางโพในอดีต
บางโพขึ้นชื่อเรื่องค้าไม้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1

ด้านการใช้ชีวิตของคนในย่านนี้จึงยังคงเรียบง่ายเข้ากับอาชีพหลักที่มีมาเนิ่นนาน สภาพบ้านเรือนจะเป็นอาคารพาณิชย์ เปิดร้านขายของที่ชั้นล่าง ผู้คนในย่านนี้ไม่ได้คึกคักมากมายนัก เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยมากกว่าแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ จึงเหมาะสำหรับคนชอบอะไรที่สงบและเรียบง่าย
Interchange แห่งใหม่ HUB ใหญ่ศูนย์กลางของการเดินทาง
อย่างที่บอกไปแล้วว่า ‘บางโพ’ เป็นย่านค้าเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าแก่ที่คงความเก๋ามาหลายศตวรรษ แต่ในปัจจุบันนี้กำลังจะเปลี่ยนไปด้วยความเจริญที่เริ่มหลั่งไหลเข้ามา ถือเป็นทำเลแห่งอนาคตที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับการลุงทุนซื้ออสังหาฯ ไว้ เพื่ออยู่อาศัย หรือซื้อไว้เพื่อขายเก็งกำไร ซึ่งมีปัจจัยดังต่อไปนี้
• บางโพเป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งรองรับการขยายตัวของเมือง ทำให้กลายเป็นจุดศูนย์กลางของการเดินทางด้วยรถไฟในอนาคต โดยจะทำโครงข่ายเชื่อมโยงการคมนาคมทางรางของรถไฟเข้าไว้ด้วยกันไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าสายสีแดง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน แอร์พอร์ตลิงค์ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าชานเมือง และ รถไฟทางไกล ที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะกลายเป็นสถานีหัวลำโพง 2 ในอนาคต
• บางโพตั้งอยู่บนทำเลที่มีศักยภาพที่มีแผนพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ ทั้งห้างสรรพสินค้า อย่างเกตเวย์ บางซื่อ, มีโครงการสร้างรัฐสภาใหม่ (รัฐสภาเกียกกาย) ซึ่งจะเป็นแหล่งงานขนาดใหญ่ของภาครัฐ ทำให้ย่านนี้คึกคักมากขึ้น และยังมีคอนโดเกิดขึ้นมามากมายตามแนวรถไฟฟ้าสายอนาคต เพื่อรองรับความต้องการด้านที่อยู่อาศัยในย่านนี้ที่จะเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต
• บางโพอยู่ในจุดที่รถไฟเชื่อมต่อถึงกัน 3 สาย ไม่ว่าจะเป็น รถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ – รังสิต)รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ – ท่าพระ) และรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ทำให้เดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวกทั้งฝั่งขาเข้าเมืองและฝั่งขาออกเมือง
• บางโพอยู่ไม่ไกลจากจุดขึ้น-ลงทางด่วน โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อบางซื่อ-ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
• บางโพอยู่ห่างจากท่าเรือเกียกกาย 1.9 กม. สามารถเดินทางด้วยเรือได้ ใช้เป็นเส้นทางเลี่ยงรถติดได้อีกทาง
• บางโพเชื่อมต่อถึงฝั่งธนบุรีบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ ด้วยสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (บริเวณแยกเกียกกาย) ช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดจากบริเวณสะพานพระราม 7 หรือสะพานกรุงธนบุรีได้
ด้วยเหตุผลทั้งหมด 6 ข้อในข้างต้น บางโพจึงกลายเป็นทำเลที่มีศักยภาพในการพัฒนาค่อนข้างสูง ซึ่งจะกลายเป็นจุดศูนย์กลางด้านการคมนาคมอาเซียนแห่งใหม่ สามารถเชื่อมต่อถึงโซนต่างๆ ของกรุงเทพมหานครและแถบปริมณฑลได้ง่ายด้วยการขนส่งระบบราง
บทความที่เกี่ยวข้อง
ส่องทำเลเตาปูน-บางโพ Interchange แห่งใหม่
"แชปเตอร์วัน ชายน์ บางโพ" ขาย 7 วันยอดจองทะลักเกิน 50% เริ่ม 1.79 ล้าน
9 คอนโดแนะนำ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสถานี เตาปูน-บางโพ ที่ไหนดี ที่ไหนโดนไปดูกัน
ที่มาภาพ :